ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ใบงานที่ 3 บทความทางด้านเทคโนโลยีสื่อสาร


 เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology)คือเทคโนโลยีดิจิตัล (Digital Technology)ประเภทหนึ่งซึ่งได้ พัฒนาตัวเพื่อเอื้อต่อการจัดการ “การสื่อสาร(Communication)” หรือ “การขนส่งข่าวสาร(Transfer of Information)” เทคโนโลยีการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นทางด้านภาพ (Image) เสียง (Voice) หรือ ทางด้านข้อมูล (Data) ได้รับการพัฒนาจนมนุษย์ สามารถเชื่อมโยงติดต่อกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และเป็นเครือข่ายที่ติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วโลก เป็นยุคของสารสนเทศ (Information Age) และเป็นสังคมสาร- สนเทศ (Information Society) ที่นับวันจะมีอัตราการเติบโตขึ้นทุกที่ทั้งในด้านขนาดและปริมาณข่าวสารที่ไหลเวียนอยู่ในสังคม เทคโนโลยีในการสื่อสารยุคใหม่ 4 กลุ่ม ได้แก่

  • 1.1 เทคโนโลยีการแพร่ภาพและเสียง (Broadcast and Motion Picture Technology)
  • 1.2 เทคโนโลยีการพิมพ์ (Print and Publishing Technology)
  • 1.3 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (Computer Technology)
  • 1.4 เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication Technology)

       บทบาทของเทคโนโลยีการสื่อสารในปัจจุบัน เช่น คอมพิวเตอร์ ดาวเทียมเพื่อการสื่อสาร โครงข่าย โทรศัพท์ อุปกรณ์ ภาพและเสียง มีผลกระทบต่อ "สื่อแบบดั้งเดิม" ( Traditional Media) ซึ่งได้แก่หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ทำให้ เกิดสิ่งที่เรียกว่า " การปฏิวัติแห่งระบบตัวเลข" (Digital Revolution) ทำให้ข้อมูลข่าวสารไม่ว่าจะอยู่ ในรูปลักษณ์ใด เช่น ข้อความเสียงภาพเคลื่อนไหวรูปภาพ หรืองาน กราฟิก ได้รับการปรับเปลี่ยนให้เป็นภาษาอีกชนิดหนึ่งเป็นรูปแบบเดียวกันทั้งหมด คือสามารถอ่านและส่งผ่านได้อย่างรวดเร็วด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วยังสามารถนำเสนอในลักษณะใดก็ได้ตามความต้องการใช้งาน ของผู้ใช้งาน ความเปลี่ยนแปลงนี้ถูกเรียกขานว่า "การทำให้เป็นระบบตัวเลข" หรือ"ดิจิไทเซชั่น" (Digitization) ด้วยระบบที่มีการทำให้เป็น ระบบตัวเลข เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิด "สื่อใหม่" (New Media) ขึ้น เป็นสื่อที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกับระบบตัวเลข เครื่องคอมพิวเตอร์ และระบบการสะท้อนกลับ หรือ "อินเตอร์ แอคทีฟ"(Interactive)


ประเภทของเทคโนโลยีการสื่อสาร

    รูปแบบของการสื่อสาร แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ
             2.1 การสื่อสารทางเดียว (One - Way Communication) เป็นการส่งข่าวสารหรือการสื่อความหมายไปยังผู้รับแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยที่ผู้รับไม่สามารถมีการตอบสนองในทันที (immediate response) ให้ผู้ส่งทราบได้ แต่อาจจะมีปฏิกิริยาสนองกลับ (feedback) ไปยังผู้ส่งภายหลังได้ การสื่อสารในรูปแบบนี้จึงเป็นการที่ผู้รับไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันได้ทันที จึงมักเป็นการสื่อสารโดยอาศัยสื่อมวลชน เช่น การฟังวิทยุ หรือการชมโทรทัศน์ เหล่านี้เป็นต้น



             2.2 การสื่อสารสองทาง (Two-Way Communication) เป็นการสื่อสารหรือการสื่อความหมายที่ผู้รับมีโอกาสตอบสนองมายังผู้ส่งได้ในทันที โดยที่ผู้ส่งและผู้รับอาจจะอยู่ต่อหน้ากันหรืออาจอยู่คนละสถานที่ก็ได้ แต่ทั้งสองฝ่ายจะสามารถมีการเจรจาหรือการโต้ตอบกันไปมา โดยที่ต่างฝ่ายต่างผลัดกันทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในเวลาเดียวกัน เช่น การพูดโทรศัพท์ การประชุม เป็นต้น




    ข้อดีของเทคโนโลยีการสื่อสาร

1. การสื่อสารและโทรคมนาคมนั้น ส่งผลต่อระบบสังคมการเมื่องในแง่ของการเพิ่มช่องทางเลือกในการรับรู้ข่าวสารของประชาชนให้มากขึ้น ส่วนในระดับปัจเจกบุคคลนั้นพัฒนาการของเทคโนโลยี การสื่อสารทำให้เกิดการเรียนรู้ เกิดทัศนคติ ตลอดจนจิตสำนึกทางการเมืองในเรื่องใดเรื่องหนึ่งร่วมกันโดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องพรมแดน รัฐบาลและอำนาจอธิปไตยอีกต่อไป

2. การขยายตัวของการสื่อสารและโทรคมนาคมได้มีอิทธิพลที่สร้างผลต่อสังคมไทยทั้งในทางตรงและทางอ้อม อันเนื่องมาจากการหลั่งไหลของ "ทุนนิยมสมัยใหม่ที่เกิดขึ้นทั่วโลกส่งผลให้ทุนนิยมโลก การค้าระหว่างประเทศ หรือธุรกิจข้ามชาติเข้ามามีบทบาทต่อการเมืองไทย เกิด "การหลั่งไหลของทุนและข้อมูลข่าวสารเข้าสู่ทุกส่วนของประเทศไทย

3. การสื่อสารโทรคมนาคมมีความสะดวกติดต่อกันง่านขึ้นจึงส่งผลให้การรับรู้ข่าวสารมีความรวดเร็ว และมีลักษณะคล้ายคลึงกันทั่วโลก หรือเกิดเป็นลักษณะ "หมู่บ้านโลก" (global village) และ "วัฒนธรรมโลก" (global culture) ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งทางวัฒนธรรม อันเนื่องมาจากสื่อสารที่รวดเร็วเสมือนอยู่ในชุมหรือประเทศเดียวกัน ทำให้เกิดการส่งผ่านวัฒนธรรมผ่านสื่อทันสมัยในยุคโลกาภิวัตน์ จากประเทศตะวันตกที่มีพื้นฐานทางวัฒนธรรมแตกต่างกับสังคมไทย ทัศนคติและค่านิยมสมัยใหม่แบบตะวันตกจะหลั่งไหลเข้าสู่สังคมไทยที่ยังคงมีทัศนคติ ค่านิยมและวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมอยู่ จึงเกิดความขัดแย้งทางวัฒนธรรมนำมาซึ่งปัญหาสังคมต่างๆ มากมาย

 

     ข้อเสียของเทคโนโลยีการสื่อสาร

1. เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเริ่มเข้ามามีบทบาทต่อการอยู่ร่วมกันในสังคม ปัญหาอาชญากรรมชนิดใหม่ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศเริ่มจะสร้างปัญหาให้แก่สังคมโดยรวม จนรัฐบาลของประชาชนที่เกิดจากอาชญากรรมคอมพิวเตอร์

2. ธุรกิจที่ทำภายใต้เทคโนโลยีสารสนเทศและอาศัยเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ขัดต่อศิลธรรมและจริยธรรมมีมากมาย ทั้งที่ผิดศิลธรรมชัดเจน และที่อยู่ในข่ายหลอกลวงให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ธุรกิจเหล่านี้มาในรูปแบบหนึ่งของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

3. ปัจจุบันการจัดเก็บข้อมูลในระบบออนไลน์ช่วยให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลมักจัดทำเพื่อประโยชน์ในกิจกรรมของนิติบุคคล หรือการให้บริการของหน่วยต่างๆ ซึ่งผู้ใช้บริการมักเข้าใจว่าข้อมูลส่วนบุคคลที่ให้ไว้นั้นจะไม่ถูกนำไปเผยแพร่หรือนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ แต่ในความเป็นจริงข้อมูลเหล่านี้อาจถูกละเมิดได้ โดยที่เจ้าของข้อมูลอาจรู้เลยก็ได้

4. อินเทอร์เน็ตนั้นมิได้มีแต่ประโยชน์เพียงด้านเดียว เป็นที่ยอมรับกันว่าความไร้ขอบเขตของการออนไลน์ทำให้เกิดผลในทางลบหลายๆ ประการ ที่เห็นได้ชัดคือปัญหาสื่อลามกอนาจาร การล่อลวง เกมออนไลน์ เป็นต้น ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยเหล่านี้มักเป็นกลุ่มเด็กและวัยรุ่น ซึ่งขาดความรู้ ความเข้าใจ และความระมัดระวังตัวในการออนไลน์หรือการใช้เทคโนโลยีดังกล่าว



ผลกระทบต่อตัวเราเอง

ผลกระทบที่เกิดจากเทคโนโลยีการสื่อสาร และโทรคมนาคาที่เกิดขึ้นในทางลบมีหลายประการ เช่น ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ อาชญากรรมบนอินเตอร์เนต  การแพร่ภาพอนาจารย์บนเครือข่าย การแพร่กระจายของข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล พฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตของเยาวชน  การพนันบนเครือข่าย การพาณิชย์ที่ขัดต่อกฏหมายและศิลธรรม ปัญหาบุคลากรสาขาวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศ 




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม

  1. หุ่นยนต์ที่นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม 1.1 หุ่นยนต์อเนกประสงค์ เป็นหุ่นยนต์หุ่นยนต์ที่ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นแขนกล ที่หยิบจับส่งต่องานได้อย่างไหลลื่น และยังอาจจะมีการติดตั้งอุปกรณ์พิเศษเพื่องานในบางลักษณะ เช่น การประกอบชิ้นงานที่มีความละเอียด งานด้านการตรวจสอบต่าง ๆ ซึ่งโดยปกติแล้วหุ่นยนต์อเนกประสงค์นั้น จะมีลักษณะที่สามารถทำงานในพื้นที่จำกัดได้ดี น้ำหนักเบา และมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม เช่นหุ่นยนต์ Nachi MZ07 ที่สามารถติดตั้งโดยใช้พื้นที่น้อย สามารถทำงานได้ในที่แคม และทำงานได้อย่างรวดเร็ว ยืดหยุ่น รวมถึงตัวเครื่องมีความสามารถในการป้องกันฝุ่น หยดน้ำ รวมถึงยังสามารถที่จะรองรับการทำงานในระบบ Automation อีกด้วย 1.2 หุ่นยนต์เชื่อม ถือเป็นหุ่นยนต์มีความสำคัญในภาคอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง เพราะถือเป็นหุ่นยนต์ที่มีการนำเอาไปใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ โดยหุ่นยนต์นี้มีลักษณะเป็นแขนกลและมีส่วนปลายแขนที่เป็นหัวเชื่อมเหล็ก ซึ่งสามารถทำงานร่วมกับระบบสายพานที่จะลำเลียงวัสดุเข้ามาให้แขนกลนี้ทำการเชื่อมวัสดุในจุดต่าง ๆ ตามโปรแกรมที่มีการตั้งค่าเอาไว้โดยอัตโนมัติ ซึ่งถือเป็นการทำง

บทความใหม่ เรื่องเครื่องจักร NC

เครื่องจักร NC เอ็นซี ( NC ) หมายถึง การควบคุมเครื่องจักรกลด้วยระบบตัวเลขและตัวอักษร  ซึ่งคำจำกัดความนี้ไดจ้ากประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวคือ การเคลื่อนที่ต่าง ๆ ตลอดจนการทา งาน อื่น ๆ ของเครื่องจกัรกล จะถูกควบคุมโดยรหัสคา สั่งที่ประกอบด้วยตัวเลข ตัวอักษร และ สัญลักษณ์อื่น ๆ ซึ่งจะถูกแปลงเป็ นเคลื่อนสัญญาณ ( Pulse ) ของกระแสไฟฟ้ าหรือสัญญาณออก อื่น ๆ ที่จะไปกระตุ้นมอเตอร์หรืออุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อทา ให้เครื่องจกัรกลทา งานตามข้นั ตอนที่ ต้องการ เครื่องจักร CNC       CNC    เป็นคำย่อมาจากคำว่า  Computer Numerical Control  หมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยควบคุมการทำงานเครื่องจักรกลอัตโนมัติต่างๆ เช่น เครื่องกัด เครื่องกลึง เครื่องเจาะ เครื่องเจียระไน ฯลฯ โดยการสร้างรหัส ตัวเลข สัญลักษณ์ หรือเรียกว่าโปรแกรม  NC  ขึ้นมาควบคุมการทำงานของเครื่องจักรกล   ซึ่งสามารถทำให้ผลิตชิ้นงานได้รวดเร็วถูกต้อง และเที่ยงตรง นับตั้งแต่ปีค.ศ. 1960 เป็นต้นมา เทคโนโลยีทางด้านไมโครโปรเซสเซอร์เข้ามามีบทบาทแทนที่หลอดสุญญากาศ และทรานซิสเตอร์ก็มีการพัฒนาจากเครื่องจักร  NC  มาเป็นเครื่องจักร  CNC (Computer

สายพานลำเลียงและรถ agv

  สายพานลำเลียง         คือ อุปกรณ์ลำเลียงที่ใช้สายพานเป็นส่วนประกอบหลักสำคัญในการนำพาวัสดุ ซึ่งระบบสายพานลำเลียงนั้นจะทำหน้าที่ในการย้ายวัสดุจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยโรงงานอุตสาหกรรมสายการผลิตส่วนมากจะต้องอาศัยระบบสายพานลำเลียงในขั้นตอนกระบวนการผลิต   ประเภทของสายพานลำเลียง            1. สายพานลำเลียงแบบพลาสติก   เป็นระบบสายพานลำเลียงชิ้นงานในแนวลาดเอียงสำหรับไลน์การผลิตที่มีความต่างระดับ ซึ่งข้อดีของระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติกนี้ คือ สามารถลำเลียงผ่านน้ำหรือลำเลียงชิ้นงานที่เปียกได้ โดยการลำเลียงจะมีลักษณะแนวลาดเอียง ลำเลียงจากที่ต่ำขึ้นสู่ที่สูง ซึ่งความลาดเอียงจะเริ่มที่ 10 องศา และไม่เกิน 45 องศา สำหรับสายพานลำเลียงแบบพลาสติกเหมาะสำหรับงานลำเลียงประเภทอาหาร บรรจุภัณฑ์ ยาง เป็นต้น      2.สายพานลำเลียงแบบผ้าใบ  เป็นสายพานลำเลียงที่มีคุณสมบัติทนความร้อนได้ และมีความยืดหยุ่นค่อนข้างน้อยเมื่อรับแรงดึง และลักษณะการทำงานจะลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง โดยสามารถขยับตัวระบบลำเลียงให้ตรงกับไลน์การผลิตได้ เหมาะสำหรับงานลำเลียงประเภทยาง อาหาร เป็นต้น       3.สายพานลำเ