ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สายพานลำเลียงและรถ agv

 สายพานลำเลียง

       คือ อุปกรณ์ลำเลียงที่ใช้สายพานเป็นส่วนประกอบหลักสำคัญในการนำพาวัสดุ ซึ่งระบบสายพานลำเลียงนั้นจะทำหน้าที่ในการย้ายวัสดุจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยโรงงานอุตสาหกรรมสายการผลิตส่วนมากจะต้องอาศัยระบบสายพานลำเลียงในขั้นตอนกระบวนการผลิต

 ประเภทของสายพานลำเลียง 

         1.สายพานลำเลียงแบบพลาสติก เป็นระบบสายพานลำเลียงชิ้นงานในแนวลาดเอียงสำหรับไลน์การผลิตที่มีความต่างระดับ ซึ่งข้อดีของระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติกนี้ คือ สามารถลำเลียงผ่านน้ำหรือลำเลียงชิ้นงานที่เปียกได้ โดยการลำเลียงจะมีลักษณะแนวลาดเอียง ลำเลียงจากที่ต่ำขึ้นสู่ที่สูง ซึ่งความลาดเอียงจะเริ่มที่ 10 องศา และไม่เกิน 45 องศา สำหรับสายพานลำเลียงแบบพลาสติกเหมาะสำหรับงานลำเลียงประเภทอาหาร บรรจุภัณฑ์ ยาง เป็นต้น



     2.สายพานลำเลียงแบบผ้าใบ เป็นสายพานลำเลียงที่มีคุณสมบัติทนความร้อนได้ และมีความยืดหยุ่นค่อนข้างน้อยเมื่อรับแรงดึง และลักษณะการทำงานจะลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง โดยสามารถขยับตัวระบบลำเลียงให้ตรงกับไลน์การผลิตได้ เหมาะสำหรับงานลำเลียงประเภทยาง อาหาร เป็นต้น



      3.สายพานลำเลียงแบบ PVC เป็นระบบสายพานลำเลียงที่เหมาะสำหรับชิ้นงานน้ำหนักเบา ซึ่งข้อดีของระบบสายพานลำเลียงแบบพีวีซี คือ สามารถทนความร้อนและมีราคาถูก เหมาะสำหรับงานลำเลียงในอุตสาหกรรมอาหาร สินค้าที่บรรจุหีบห่อที่มีน้ำหนักเบาและต้องการความสะอาด 

     4.สายพานลำเลียงสำหรับเครื่องตรวจโลหะ เป็นระบบสายพานลำเลียงที่ลำเลียงวัสดุเข้าเครื่องตรวจโลหะ โดยมีระบบสายพานลำเลียง 2 แบบ คือ ระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก และสายพานลำเลียงแบบ PVC
สายพาน Chip Conveyor เป็นอุปกรณ์ลำเลียงอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้ลำเลียงวัสดุเศษชิ้นงาน เช่น เศษโลหะจากงานเจาะ งานตัด งานเจียร เป็นต้น ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ และนิยมใช้มากในเครื่องจักร ระบบ cnc เนื่องจากราคาไม่แพง และสามารถออกแบบให้เหมาะกับการใช้งานตามต้องการได้


ส่วนปนะกอบของสายพานลำเลียง

1.สายพาน(Belt Conveyor)

2.มู่เลย์ส่วนท้าย(Tail Pulley)

3.อุปกรณ์ปิดด้านข้าง(Skirt Board)กันวัสดุไหลออก

4.ลูกกลิ้งรองรับสายพานด้านรับภาระ(Carry Idler)

5.อุปกรณ์ปิดด้านบน (Belt Cover)

6.มู่เลย์ส่วนหัว(Head Pully) ส่วนจ่ายวัสดุ

7.มู่เลย์กดสายพาน(Snub Pully)

8.อุปกรณ์ทำความสะอาดสายพาน(Belt Cleaner)

9.ลูกกลิ้งรองรับสายพานด้านฝั่งกลับ(Return Idler)

10.อุปกรณ์ปรับให้สายพานเดินได้ตรงแนว(Tracker Return Idler)







รถ AGV


   คือ รถลำเลียงสินค้ำอัตโนมัติ โดยใช้แถบแม่เหล็ก วิชั่น หรือเลเซอร์ เป็นตัวบอกทิศทำงให้กับรถเวลำเคลื่อนที่ AGV ส่วนมำกใช้ในงำนอุตสำหกรรม/โรงงำน/คลังสินค้ำ ไว้ลำเลียงสินค้ำ/ชิ้นงำน จำกจุดหนึ่งไปสู่อีกจุดหนึ่ง

อุปกรณ์ประเภท AGV มีลักษณะคล้ายอุปกรณ์ประเภท Industrial Truck แตกต่างที่  ถูกควบคุมโดยคอมพิวเตอร์ และถูกกำหนดเส้นทางการเดินทางที่ชัดเจน ไม่ต้องใช้คนขับ การเลือกใช้อุปกรณ์ประเภท AGV มักต้องลงทุนสูง ทั้งค่าคอมพิวเตอร์ที่ใช้ควบคุม

การติดตั้งเส้นทางซึ่งอาจมีการฝังสายไว้ใต้พื้นตามเส้นทาง และตัวรถ  เอง การควบคุมอุปกรณ์ประเภท AGV สามารถควบคุมได้หลายๆ คันโดยใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมเพียงชุดเดียว และ AGV แต่ละคันสามารถสื่อสารถึงกันได้ เช่น เพื่อหลีกเลี่ยงการชนกันเอง หรือเพื่อป้องกันการกีดขวางการจราจร หากอีกคันยังอยู่ในจุดรับส่งวัสดุ

ส่วนประกอบของ AGV
1. ส่วนของตัวรถ
2. ส่วนของตัวตรวจเช็คเส้นทาง (Guided sensor)
ใช้เป็น Magnetic sensor
หลังการทำงานของ magnetic sensor
เซ็นเซอร์จะทำการตรวจวัดความสมดุลสองข้าง ซ้าย/ขวา ของแถบแม่เหล็กแล้วดำเนินการ
ตามขั้นตอนได้เขียนโปรแกรมควบคุมไว้
3. ส่วนของตัวตรวจเช็คความปลอดภัย (Safety sensor)
ใช้เป็น Ultrasonic sensor
ใช้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยป้องกันการชนกันระหว่าง รถ AGV กับ Station ต่างๆ
หรือระหว่าง รถ AGV กับรถ AGV โดยจะติดตัวเซ็นเซอร์ไว้ด้านหน้าและด้านข้างของ
ตัวรถ
4. ส่วนของต้นกำลัง (Motor)

5. ส่วนของไฟฟ้าภายในตัวรถ (Power supply)
6. ส่วนของอิเล็กทรอนิกส์ก าลัง (Power electronics)
7. ส่วนของตัวควบคุม (Controller)








ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม

  1. หุ่นยนต์ที่นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม 1.1 หุ่นยนต์อเนกประสงค์ เป็นหุ่นยนต์หุ่นยนต์ที่ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นแขนกล ที่หยิบจับส่งต่องานได้อย่างไหลลื่น และยังอาจจะมีการติดตั้งอุปกรณ์พิเศษเพื่องานในบางลักษณะ เช่น การประกอบชิ้นงานที่มีความละเอียด งานด้านการตรวจสอบต่าง ๆ ซึ่งโดยปกติแล้วหุ่นยนต์อเนกประสงค์นั้น จะมีลักษณะที่สามารถทำงานในพื้นที่จำกัดได้ดี น้ำหนักเบา และมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม เช่นหุ่นยนต์ Nachi MZ07 ที่สามารถติดตั้งโดยใช้พื้นที่น้อย สามารถทำงานได้ในที่แคม และทำงานได้อย่างรวดเร็ว ยืดหยุ่น รวมถึงตัวเครื่องมีความสามารถในการป้องกันฝุ่น หยดน้ำ รวมถึงยังสามารถที่จะรองรับการทำงานในระบบ Automation อีกด้วย 1.2 หุ่นยนต์เชื่อม ถือเป็นหุ่นยนต์มีความสำคัญในภาคอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง เพราะถือเป็นหุ่นยนต์ที่มีการนำเอาไปใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ โดยหุ่นยนต์นี้มีลักษณะเป็นแขนกลและมีส่วนปลายแขนที่เป็นหัวเชื่อมเหล็ก ซึ่งสามารถทำงานร่วมกับระบบสายพานที่จะลำเลียงวัสดุเข้ามาให้แขนกลนี้ทำการเชื่อมวัสดุในจุดต่าง ๆ ตามโปรแกรมที่มีการตั้งค่าเอาไว้โดยอัตโนมัติ ซึ่งถือเป็นการทำง

บทความใหม่ เรื่องเครื่องจักร NC

เครื่องจักร NC เอ็นซี ( NC ) หมายถึง การควบคุมเครื่องจักรกลด้วยระบบตัวเลขและตัวอักษร  ซึ่งคำจำกัดความนี้ไดจ้ากประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวคือ การเคลื่อนที่ต่าง ๆ ตลอดจนการทา งาน อื่น ๆ ของเครื่องจกัรกล จะถูกควบคุมโดยรหัสคา สั่งที่ประกอบด้วยตัวเลข ตัวอักษร และ สัญลักษณ์อื่น ๆ ซึ่งจะถูกแปลงเป็ นเคลื่อนสัญญาณ ( Pulse ) ของกระแสไฟฟ้ าหรือสัญญาณออก อื่น ๆ ที่จะไปกระตุ้นมอเตอร์หรืออุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อทา ให้เครื่องจกัรกลทา งานตามข้นั ตอนที่ ต้องการ เครื่องจักร CNC       CNC    เป็นคำย่อมาจากคำว่า  Computer Numerical Control  หมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยควบคุมการทำงานเครื่องจักรกลอัตโนมัติต่างๆ เช่น เครื่องกัด เครื่องกลึง เครื่องเจาะ เครื่องเจียระไน ฯลฯ โดยการสร้างรหัส ตัวเลข สัญลักษณ์ หรือเรียกว่าโปรแกรม  NC  ขึ้นมาควบคุมการทำงานของเครื่องจักรกล   ซึ่งสามารถทำให้ผลิตชิ้นงานได้รวดเร็วถูกต้อง และเที่ยงตรง นับตั้งแต่ปีค.ศ. 1960 เป็นต้นมา เทคโนโลยีทางด้านไมโครโปรเซสเซอร์เข้ามามีบทบาทแทนที่หลอดสุญญากาศ และทรานซิสเตอร์ก็มีการพัฒนาจากเครื่องจักร  NC  มาเป็นเครื่องจักร  CNC (Computer